25521230

別に !


เมื่อวานนี้ไปดูหนังเรื่อง I give my first love to you
หรือชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า 僕の初恋をキミに捧ぐ
ปกติไม่ค่อยได้ดูหนังญี่ปุ่นเท่าไหร่
เรื่องนี้นางเอกพระเอกน่ารักมาก ฮ่าๆๆๆ ไม่เกี่ยวอะี่ไร
ระหว่างที่นั่งดูไปก็พยายามฟังภาษาญี่ปุ่นไปด้วย
บางทีถ้าพูดเร็วๆ ฟังไม่ทัน (เช่น ตัวละครผู้ชาย)
ก็จะอ่าน sub-title ข้างล่างคู่กันไปด้วย

มีอยู่ตอนนึง เป็นตอนที่นางเอกทำท่าเหมือนงอนพระเอก
แล้วพระเอกก็ถามว่า "เธองอนอะไรหรอ"
นางเอกก็ตอบว่า ' 別に '
เหลือบไปมอง sub-title ภาษาไทย เค้าแปลว่า "เปล่านิ่"
ก็เลยได้รู้เป็นครั้งแรกว่า เวลาจะตอบปฎิเสธก็ใช้คำนี้ได้เหมือนกัน
วันนี้ตอนไปซื้อของกับแอร์(อาภาพร) นึกเรื่องนี้ขึ้นมาได้ เลยลองถาม
แอร์บอกว่า คำนี้มาจาก 別にない ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ
ใช้ตอบเวลาปฎิเสธก็ได้เหมือนกัน

โอ้ ดูเป็นเรื่องธรรมดาแต่ไม่เห็นเคยรู้มาก่อนเลย เหอๆๆ
:)

25521224

ポートフォリオ目標の発表

เครียดมากจากการสอบวิชา Reading มาอัพบล็ิอกดีกว่า

เมื่อวันอังคาร รายงานเรื่องวัตถุประสงค์ที่จะทำ Portfolio
เรื่องที่ตนเองคิดว่าจะทำก็คือเรื่อง คำช่วย に กับ で
เพราะว่าเป็นเรื่องที่ใช้ผิด และสับสนบ่อยมากว่าจะใช้ตัวไหนดี
บางทีก็ใช่เพราะว่าเดาหรือคุ้นๆว่าเคยใช้ตัวนี้ น่าจะเป็นอย่างนี้
เรียกว่าใช้ตาม sense นั่นเอง - -"
เลยอยากเข้าใจให้กระจ่างเรื่องนี้ซักที เพราะเป็นเรื่องที่ใช้ค่อนข้างบ่อยมาก

ฟังหัวข้อของเพื่อนๆ พี่ๆ ก็มีเรื่องที่น่าสนใจเยอะเลย
บางเรื่องตอนแรกคิดว่าจะทำด้วยอย่างเช่นเรื่อง คำช่วย は กับ が
ส่วนใหญ่พี่ๆจะทำเรื่องเกี่ยวกับ コミュニケーション ค่อนข้างมาก
ส่วนตัวแล้วอยากทำเรื่อง コミュニ่ケーション เหมือนกัน
แต่ชีวิตประจำวันไม่ค่อยได้ติดต่อสื่อสารกับคนญี่ปุ่น(ที่ไม่ใช่อาจารย์)สักเท่าไหร่
เอาไว้คอยดูผลงานของเพื่อนๆ พี่ๆ เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวเองแล้วกัน ฮี่ๆ

จะตั้งใจทำผลงาน Portfolio นี้ให้ดีและได้รับความรู้มากที่สุด :)

25521208

銀河鉄道の夜

วันนี้คาบ Jp Conver เป็นคาบที่ให้ฝึกอ่านบทอ่าน
ที่อาจารย์แจกให้ตั้งแต่ต้นเทอม ชื่อเรื่องว่า 銀河鉄道の夜
อ่านให้อาจารย์อิเคะทานิฟัง *ตัวต่อตัว* ด้วยล่ะ ฮ่าๆ

ก่อนหน้านี้จะเป็นการอัดเสียงของตัวเองแล้วส่งให้อาจารย์ฟัง
ซึ่งก็อัดส่งไปแล้วสามครั้ง
ครั้งที่สองที่อัดส่งไป ได้รับการคอมเม้นจากอาจารย์กลับมาด้วย ความว่า..

イントネーションが違っているので発音はできているのに、 
全体として あまり上手に聞こえないのがもったいないです。
かなり 上手になれると思いますので、
イントネーションに気をつけて練習してください。

พออ่านคอมเม้น ก็รู้สึกว่าเป็นอย่างที่อาจารย์เขียนมาจริงๆน่ะแหละ
intonation ไม่ค่อยจะดีเลย เหมือนอะไรบางอย่างหายไป
แล้วอาจารย์ก็เขียนตรงที่เราออกเสียงไม่ชัดเจน หรือยังออกไม่ถูกมาให้
คราวนี้ก็กลับไปฝึก มีอยู่หลายที่ที่ฟังตามไฟล์เสียงของอาจารย์กี่ที
ก็ยังออกเสียงไม่ได้อย่างนั้นซักที
หลายที่ที่รู้สึกว่าออกเสียงแล้วมันขัดกับความรู้สึก
ทำไมมันแปลกๆนะ (แต่จริงๆคือมันถูกแล้ว)
หลายที่ที่คิดว่าตัวเองออกเสียงถูกแล้ว ไม่เห็นต่างจากต้นฉบับเลบ
แต่จริงๆแล้วมันผิด - -
แต่ยังไงก็พยายาม ฝึก ฝึก และ ฝึก
เมื่อวานพอไปอ่านตัวต่อตัว ให้อาจารย์แก้
ปรากฎว่าที่ที่เรากังวลหลายที่ก็ดีขึ้น
แต่มีผิดที่ใหม่มา - - ซะงั้น มีอยู่คำนึงอ่านนานมาก
อาจารย์อิเคะให้ลองฝึกหลายรอบมากๆ เราก็พูดไม่ได้ซักที T T
คำนั้นคือคำว่า "乳" จริงๆมันออกเสียง chi-chi
แต่อาจารย์บอกว่าเราออกเป็น chi-ji
เห้อ ยังต้องฝึกต่อไป がんばろう!


ได้คุยกะเพื่อนๆ เกี่ยวกะเรื่องที่ให้ฝึกอ่านบทอ่านนี้ว่า
ถ้าเกิดว่าสมมติบทอ่านนี้เราออกเสียงได้ดี perfect หมด
แต่พอเริ่มอันใหม่ (ครึ่งเทอมหลัง) เราก็ต้องเหมือนกลับไปเริ่มใหม่อยู่ดี
เหมือนกับว่า ยังไงก็อ่านได้แย่เหมือนเดิม เวลาเริ่มบทอ่านที่ไม่เคยอ่าน
หรือว่าบทอ่านที่ไม่ได้ฝึกหลายๆๆรอบเหมือนอย่างนี้
อืมม ในใจคิดอย่างนี้เหมือนกันนะ
แต่พี่แฟรงค์บอกว่า เดี๋ยวมันก็ติดตัวเราไปเองแหละ
เวลาเราไปอ่านบทอ่านอื่น เราก็จะติดสำเนียงการอ่านอย่างนี้
อย่างที่พี่แฟรงค์ยกตัวอย่าง "それを.." ถ้าเราไปเจอในบทอ่านอื่น
เราก็จะออกเสียงเหมือนที่เราอ่านบทอ่านนี้่
ต้องฝึกไปเรื่อยๆๆ เพือความคุ้นเคยเนาะ
อยากอ่านออกเสียง+พูดสำเนียงดีๆจัง :)

25521204

ドラえもんの漢字 ∙ 熟語を使い分ける



งานที่ทุกคนได้รับมอบหมายจากวิชา Jap Reading II
ก็คือให้ไปอ่านหนังสือ 1 เล่ม เลือกจาก หนังสือ "100 เล่มที่นิสิตเอกภาษาญี่ปุ่นควรอ่าน"
โดยเลือกที่เลือกอ่านนั้นก็คือ
ドラえもんの漢字 ∙ 熟語を使い分ける
เป็นหนังสือที่สอนเรื่องคันจิและคำประสม
หนังสือเล่มนี้อธิบายและยกตัวอย่างดีมากเลย


ตอนแรกๆ จะสอนเรื่องคันจิที่ออกเสียงเหมือนกันแต่ความหมายต่างกัน
เปรียบเทียบตัวอักษรคันจิที่มีความหมายตรงข้ามกัน
แล้วก็มีอธิบายแล้วก็ยกตัวอย่างเรื่องคำที่มีความหมายเหมือนหรือคล้ายกันด้วย
ในส่วนนี้คิดว่ามีประโยชน์อย่างมากในการเลือกใช้คำ
เพราะบางทีตนเองจะเป็นคนที่เลือกใช้คำที่มีความหมายคล้ายๆกันไม่ค่อยถูก
ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้คำไหนดีให้เหมาะสมและตรงความหมาย
ส่วนใหญ่จะใช้ผสมปนเปก็ไปหมด
อย่างในหนังสือเล่มนี้ก็จะมียกตัวอย่างไว้หลายคำเลย เช่น

将来 กับ 未来 ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าสองตัวนี้มันต่างกันยังไง
ปกติอยากใช้อะไรก็ใ้ช้ ฮ่าๆๆ แต่ใช้ 将来 บ่อยกว่าเพราะคุ้นเคยกว่า - -"
ในหนังสือเล่มนี้เค้าก็บอกว่า 将来 จะเป็นเรื่องของตัวเอง แต่ว่า
未来 จะเป็นเรื่องที่ดูยิ่งใหญ่กว่า เช่น 未来の世界

อีกคู่นึงก็เช่น 欠点 กับ 短所
欠点 จะใช้กับของหรือเรื่องราวอะไรก็แล้วแต่
แต่สำหรับ 短所 นั้นส่วนใหญ่จะใช้กับคน

なるほど! ^^
มีอีกหลายคำเลย น่าสนใจมากๆ จะได้ใช้ถูกซักทีเวลาเขียนเรียงความหรือพูด


พอได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วทำให้ได้รู้คันจิและคำศัพท์อื่นๆ
นอกเหนือจากที่เคยเรียน
แล้วก็เป็นการทบทวนสิ่งที่เรียนมาแล้วด้วย
เป็นโอกาสดีที่ได้ทบทวนเพราะรู้สึกว่าเขียนหรืออ่านคันจิได้ไม่ค่อยดีแล้ว
ปีสาม ไม่ค่อยได้ คัด คัด คัด แล้วก็ คัด เหมือนตอนปีสอง
ดีใจหรือเสียใจดี? ฮ่าๆๆ


หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ดีเล่มนึงเลยนะ
มันช่วยเพิ่มทักษะในการจำตัวอักษรคันจิในรูปแบบใหม่
คือ ผ่านตัวการ์ตูนและภาพประกอบ อ่านไปก็เพลินๆ ดี
ทำให้การเรียนคันจิที่บางคนอาจคิดว่าน่าเบื่อสนุกขึ้นก็ได้ :)

25521202

พาคนญี่ปุ่นทัวร์จุฬาฯ


เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีคนฟิลิปปินส์กับคนญี่ปุ่น ที่เป็นสมาชิก Rotaract Club มาที่จุฬาฯ
คนในชมรม Rotaract จุฬาฯ ก็ต้องพาเค้าทัวร์จุฬาฯด้วย
ตอนแรกที่ได้ยินว่ามีคนญี่ปุ่นมาด้วยก็รู้สึกอยากไปช่วยเค้านำเที่ยวด้วย
อยากฝึกพูดเยอะๆๆ ฮ่าๆๆๆ

มีคนญี่ปุ่นผู้ชายมาสองคน
คนนึงคุยเก่งมาก อีกคนนึงแทบไม่ค่อยพูดอะไรเลย ,,
ส่วนใหญ่ก็เลยจะคุยแต่กับคนที่พูดเก่งๆ เพราะว่าไมรู้จะชวนอีกคนนึงคุยอะไร ฮ่าๆ
รู้สึกว่าตอนที่คุยเรื่องปกติธรรมดา
อย่างเช่น เค้าทำอะไรที่ไหน อยู่จังหวัดอะไร เรียนภาษาไทยมาเท่าไร
อะไรอย่างนี้จะพูดคล่องอยู่
แต่ว่า,, มีช่วงที่จะต้องอธิบาย เวลาพาเค้าเที่ยว
อย่างเช่น ตึกนี่ตึกอะไีร อันนี้สร้างไว้ทำไม
จะนึกคำศัพท์ไม่ค่อยออกเลยอ้ะ - -"
มีอยู่ตอนนึง เดินผ่านต้นจามจุรี แล้วอยากจะพูดว่า
"ต้นจามจุรีเป็นสัญลักษณ์ของจุฬาฯ"
แต่ว่า นึกศัพท์คำว่าสัญลักษณ์ไม่ออก อ๊าก
พาเค้าไปไหว้พระบรมรูปสองรัชกาลด้วย
พูดไปแต่ว่าเป็นผู้ก่อตั้งจุฬาฯ นอกจากนี้ไม่รู้จะพูดอะไร นึกคำไม่ออก T T
รู้สึกว่าเรื่องคำศัพท์เป็นปัญหามาก บางทีรู้นะ แต่คิดไม่ออก เป็นบ่อย
บางทีก็ใช้เวลาคิดนานกว่าจะนึกออก
แต่บางทีก็ไม่รู้เลย แย่จริงๆ

นึกถึงตอนที่อยู่ญี่ปุ่นเลย เมื่อ summer ที่แล้ว
ตอนแรกๆ ที่ไป พูดไม่รู้เรื่องเลย คิดไม่ออก ศัพท์เหมือนติดอยู่ที่ปาก
พออยู่ไปเรื่อยๆ ก็พูดได้มากขึ้น คล่องขึ้น ชวนโฮสคุยบ่อยๆ
อธิบายเรื่องต่างๆ ให้เค้าฟังได้มากขึ้น
พอพูดได้ เลยมีความรู้สึกว่าอยากคุยกะเค้าเยอะๆ รู้สึกสนุกเวลาคุย
แต่ตอนนี้พูดไม่คล่องอีกแล้ว แย่จัง,,
อยากพูดคล่องแคล่ว ไม่ตะกุกตะกัก
ว่าแล้วก็อยากกลับไปอยู่ญี่ปุ่นอีกจัง :)

25521129

タスク2 それは秘密です。

タスク 2 เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นเมื่อได้รับมอบหมายงาน
พร้อมๆ กับเป็นอะไรที่น่าอับอายด้วยเช่นกัน ฮ่าๆๆๆ

สิ่่งที่คิดว่าปัญหาจากการพูดอัดเสียงสดที่พบก็คือ
- พูดตะกุกตะกัก ไม่ลื่นไหล เพราะว่าคิดไม่ออกว่าควรจะพูดอะไรต่อดี นึกคำพูดไม่ออก
- พูดไปเรื่อยๆ ไม่เหมือนกับกำลังเล่าให้เพื่อนฟัง นึกอะไรก่อนได้ก็พูด บางทีไม่มีการเชื่อมระหว่างประโยค
- ชอบลงท้ายประโยคด้วย だ หรือกริยารูปพจนานุกรมเฉยๆ
- อธิบายเรื่องราวไปตรงๆ ตามรูปที่เห็น ไม่ได้อธิบายอย่างละเอียด
ถ้าเล่าให้เพื่อนฟังจริงๆ อาจจะงงว่าเรื่องมันเป็นยังไงมายังไงกันแน่


หลังจากที่ได้แบ่งกลุ่ม อ่านบทพูดของเพื่อน แก้ไขส่วนที่ตัวเองคิดว่าผิด
รวมทั้ง ฟังเสียงของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นและฟังคำอธิบายของอาจารย์กนกวรรณแล้วก็ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง

- ได้รู้จัก メタ言語 เช่น 彼、そこで何と言ったと思う? เป็นภาษาที่ทำให้คนฟังอยากติดตามเรื่องที่เรากำลังจะพูด
ซึ่งจากการอัดเสียงนั้น ใส่ไปแค่ประโยคเดียวตอนเริ่มต้นเรื่อง คือ ねえ。ねえ。この話 知ってる? 
จากนั้นก็เล่าไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรที่จะดึงดูดคนฟัง
เรื่อง メタ言語 อาจดูไม่สำคัญ แต่มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรื่องดูน่าสนใจได้มาก
เวลาเราพูดภาษาไทยก็ใช้คำพวกนี้บ่อยๆ แต่ว่าตอนที่พูดอัดเสียงสดๆตอนนั้น
ก็นึกไม่ออกว่าควรจะพูดคำพวกนี้ เพราะว่าแค่นึกว่าจะพูดสื่อออกมาเป็นเรื่องอะไรยังคิดไม่ออกจะออกเลย แหะๆ

- การพูดของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นเล่าเรื่องได้ละเอียดมากๆๆๆ แตกต่างจากของตนเอง อย่างเช่น
ตอนที่เล่าว่าไปเจอรูปเข้า ก็เล่าแค่ไปเจอรูป หรือ ตอนที่คนผู้หญิงรู้ว่าแฟนตัวเองเป็นคนหัวล้าน
ส่วนตัวแล้วได้เล่าแค่ว่าคนผู้ชายเป็นคนที่ไม่มีผม แค่เท่านั้น
แต่อาจารย์ชาวญี่ปุ่นเล่าว่าคนผู้ชายทำท่าทางยังไงตอนที่ให้แฟนรู้ด้วย
นอกจากนี้ ยังเล่าด้วยว่าศีรษะของผู้ชายมีลักษณะยังไง ในประโยค 彼の頭も、つるつるぴかぴかだったの。
ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ดีกว่าที่จะพูดไปเฉยๆ ว่าไม่มีผม

- ได้เรียนรู้คำที่ใช้ลงท้ายประโยคที่เป็นภาษาพูด เช่น การใช้ の หรือ のね หรือ のよ
หรือไม่ก็ けど ก็ได้ ความรู้นี้เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะปกติชอบลงท้ายด้วย だ
ไม่ค่อยชินกับการใช้ภาษาพูดเท่าไหร่ ต้องฝึกให้มากกว่านี้

- สังเกตจากการพูดของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นจะไม่บอกตรงๆว่าคนผู้ชายหัวล้าน (はげ) แต่จะเลี่ยงไปใช้คำอื่นๆแทน
คือ 彼、自分の髪の毛に手を持っていって、つるって、髪の毛を取ったのよ。
เท่านี้ก็รู้ได้แล้วว่าหัวล้าน ไม่ต้องพูดตรงๆ


ปล. มีข้อสงสัยเล็กน้อยและสงสัยมานาน คราวนี้มาเจอในบทพูดของอาจารย์อิไว
คือคำลงท้าย ~さ ได้ยินโฮส ทั้งโฮสพ่อโฮสแม่ (โดยเฉพาะโฮสพ่อ) พูดบ่อยมาก
อย่างเวลาเรียกชื่อ เค้าก็จะต่อท้ายชื่อเราด้วย さ ด้วย งงๆ แหะๆ


พอได้ทำ タスク นี้แล้ว ก็รู้สึกว่าทั้งการพูดให้ถูก ให้ลื่นไหล พูดให้เรื่องน่าติดตามมันสำคัญมาก
,,,อยากจะพูดได้ลื่นไหลกับเค้าบ้างจัง !~

25521122

タスク1 相手は何を知っているか??

タスク1 เป็นการฝึกเขียนอีเมล์ถึงคนญี่ปุ่น เป็นอะไรที่มีประโยชน์มากๆ เลย ^^

ได้ทำ タスク เขียนเมล์ 3 ครั้ง ครั้งแรกที่เขียนตามโจทย์ที่อาจารย์ให้มายังรู้สึกงงๆ กะโจทย์อยู่
เวลาที่เขียนก็ประมาณ 15 นาที รู้สึกเขียนได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก
ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยมีแบบฝึกหัดการเขียนอีเมล์หรือจดหมายเท่าไหร่นัก
เลยไม่รู้ว่าวิธีการเขียนที่ถูกต้องเป็นอย่างไรบ้าง
การเขียนครั้งแรกเลยเขียนไปอย่างไม่ค่อยมีรายละเอียดชัดเจน ไวยากรณ์ก็ไม่ค่อยถูก
นอกจากนี้ ก็ยังไม่รู้ว่าคนที่เราจะเขียนไปถึงนี้ เราต้องให้ความสุภาพกับเขามากเพียงใด
(โดยปกติ เป็นคนที่ใช้คำยกย่อง คำสุภาพมากๆ ไม่ค่อยเป็นอยู่แล้วด้วย - -")

การเขียนครั้งที่สอง ได้ใส่รายละเอียดเข้าไปในเมล์มากขึ้น
ก่อนที่จะเขียนครั้งที่สองนี้ได้มีการแลกกันอ่านเมล์ของเพื่อนด้วย
ทำให้ได้รู้ว่าสิ่งไหนที่เป็นข้อบกพร่องของเราและของเพื่อน
สิ่งไหนที่เราควรจะเขียนลงไปในอีเมล์ด้วย แต่ไม่ได้เขียนลงไป
เช่น ในส่วนที่ต้องการขอรายละเอียดเพิ่มเติมนั้นไม่ได้เขียนระบุลงไปว่าต้องการรายละเอียดอะไรบ้าง
เขียนไปเพียงแค่ว่า 詳しい情報を教えていただけたいと思います。
ซึ่งผู้รับอาจจะไม่รู้ว่าเราต้องการรายละเอียดอะไรบ้าง
ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อเราที่อาจจะไม่ได้รับข้อมูลครบตามที่ต้องการ
ครั้งที่สองนี้เลยเขียนรายละเอียดที่เราต้องการรู้ไปเป็นข้อๆ
(ได้รับแรงบันดาลใจจากพี่อานนท์ ^^ ที่เขียนเป็นข้อๆ อ่านง่าย เข้าใจง่ายมากๆ)
เพราะว่าทำให้เกิดความชัดเจน ผู้ตอบจะได้ตอบคำถามที่เราอยากรู้ได้ครบถ้วน
นอกจากนี้ จากที่อาจารย์สอนในห้องเรียน ก็ยังได้รู้วิธีเขียนเมล์มากขึ้น
เช่น จะไม่ใช้ へ ตามหลังชื่อคนที่เราเขียนไปถึง และไม่ใช้ さん ต่อท้ายชื่อเขา แต่จะใช้ 先生 หรือ 様 แทน
แล้วก็ได้รู้คำลงท้ายจดหมายที่ว่า お返事は急ぎませんが、เป็นคำที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลย
ปกติรู้จักแต่คำว่า お返事を待っております 。
รอบสองนี้ ลืมใส่ชื่อตัวเองท้ายอีเมล์ซะอย่างงั้น - -"

การเขียนครั้งที่สาม จากครั้งที่สองอาจารย์กนกวรรณแก้ไวยากรณ์ที่ผิดค่อนข้างเยอะ
เช่น รูปประโยคคำถาม เนื่องจากเป็นคนที่ควรยกย่อง จึงควรใช้รูป ~でしょうか。แทน ~ますか。
แล้วก็ใช้คำสันธานผิดความหมายอีกแล้ว
(รู้สึกมานานว่าการใช้คำสันธานเป็นปัญหาสำหรับตนเองมาก อยากใช้ให้ถูกต้องซักที - -")
อีกทั้ง ยังต้องแก้ไวยากรณ์ที่เกี่ยวกับ Tense&Aspect ด้วย เช่น ในประโยค
この間、修二様のホームページを見て、個人レッスンを受けたいと思っています。
ประโยคนี้ควรเปลี่ยน と思っています。เป็น と思いました。
เพราะว่ามีคำว่า ~見て、แสดงว่าพอเราเห็นก็อยากเรียนขึ้นมา ถึงแม้ว่าตอนนี้ยังคงอยากเรียนอยู่ก็ตาม
การเขียนครั้งที่สามนี้จึงระมัดระวังเรื่องไวยากรณ์มากเป็นพิเศษ
แล้วก็ยังมีเรื่องการถามเกี่ยวกับเรื่องเงิน (ค่าเรียน) ที่ไม่ควรใช้คำที่มีคำว่าเงินโดยตรง
เพราะเป็นการถามที่ตรงเกินไป คนญี่ปุ่นมักจะไม่ใช้กัน
เลยเปลี่ยนเป็นใช้รูปประโยค 一時間はどのぐらいかかるでしょうか。แทน
ครั้งที่สามนี้ไม่ลืมลงชื่อตัวเองท้ายอีเมล์แล้ว ^^
การเขียนครั้งที่สามรู้สึกพอใจมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้ดีมาก ยังมีอะไรที่ต้องแก้ไขและพัฒนาอีก
แล้วก็การเขียนครั้งนี้ยังทำให้เห็นไวยากรณ์ที่เราใช้ผิดบ่อยอีกด้วย


นอกจากสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเขียนของตนเองแล้ว ยังได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากการเขียนของเพื่อนและจากตัวอย่างในชีทด้วย เช่น
- ควรบอกรายละเอียดให้ชัดเจน เช่น เรียนมา 5 ปี นั้น จริงๆแล้วเรียนมาถึงระดับไหนแล้ว เป็นต้น
- การใช้คำว่า 経験になる และ 役に立つ เป็นคำที่กำกวม ไม่ได้อธิบายรายละเอียดที่ชัดเจน
จึงไม่ควรนำมาใช้ในการเขียน
- การบอกว่าเราเป็นแฟนคลับและติดตามผลงานของผู้เขียนก็เป็นสิ่งที่น่าจะนำมาเขียนด้วย
- ได้เรียนรู้สำนวนใหม่ๆ เช่น お手数ですが、ใช้เพื่อเกริ่นว่าต้องการจะรบกวนอะไรบางอย่าง


การเขียนอีเมล์ครั้งนี้ทำให้รู้ว่าการเขียนอีเมล์นั้นต้องคำนึงถึงอะไรหลายๆ อย่างมากเลย
โดยเฉพาะอย่างยื่ง สิ่งที่สำคัญ คือ เราต้องคำนึงถึงคนที่อ่านเมล์เราด้วย
ต้องคำนึงว่าผู้อ่านเป็นใคร และเขาจะเข้าใจความหมายที่เราต้องการจะสื่อสารหรือไม่
เพื่อให้จุดประสงค์ที่เราเขียนอีเมล์นั้นบรรลุตามที่ต้องการ :)

25521110

์My new blog >w<

วันนี้อาจารย์กนกวรรณให้สร้างบล็อก กลับบ้านมาก็มานั่งทำ
ห่างหายจากการเขียนบล็อกไปนาน
เคยเขียนแต่เรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน้
คราวนี้ต้องมาเขียนเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น จะเป็นยังไงนะนี่? รอดูต่อไป ฮ่าๆๆ
Yeah !!! My new blog
^_____^