25521129

タスク2 それは秘密です。

タスク 2 เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นเมื่อได้รับมอบหมายงาน
พร้อมๆ กับเป็นอะไรที่น่าอับอายด้วยเช่นกัน ฮ่าๆๆๆ

สิ่่งที่คิดว่าปัญหาจากการพูดอัดเสียงสดที่พบก็คือ
- พูดตะกุกตะกัก ไม่ลื่นไหล เพราะว่าคิดไม่ออกว่าควรจะพูดอะไรต่อดี นึกคำพูดไม่ออก
- พูดไปเรื่อยๆ ไม่เหมือนกับกำลังเล่าให้เพื่อนฟัง นึกอะไรก่อนได้ก็พูด บางทีไม่มีการเชื่อมระหว่างประโยค
- ชอบลงท้ายประโยคด้วย だ หรือกริยารูปพจนานุกรมเฉยๆ
- อธิบายเรื่องราวไปตรงๆ ตามรูปที่เห็น ไม่ได้อธิบายอย่างละเอียด
ถ้าเล่าให้เพื่อนฟังจริงๆ อาจจะงงว่าเรื่องมันเป็นยังไงมายังไงกันแน่


หลังจากที่ได้แบ่งกลุ่ม อ่านบทพูดของเพื่อน แก้ไขส่วนที่ตัวเองคิดว่าผิด
รวมทั้ง ฟังเสียงของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นและฟังคำอธิบายของอาจารย์กนกวรรณแล้วก็ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง

- ได้รู้จัก メタ言語 เช่น 彼、そこで何と言ったと思う? เป็นภาษาที่ทำให้คนฟังอยากติดตามเรื่องที่เรากำลังจะพูด
ซึ่งจากการอัดเสียงนั้น ใส่ไปแค่ประโยคเดียวตอนเริ่มต้นเรื่อง คือ ねえ。ねえ。この話 知ってる? 
จากนั้นก็เล่าไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรที่จะดึงดูดคนฟัง
เรื่อง メタ言語 อาจดูไม่สำคัญ แต่มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรื่องดูน่าสนใจได้มาก
เวลาเราพูดภาษาไทยก็ใช้คำพวกนี้บ่อยๆ แต่ว่าตอนที่พูดอัดเสียงสดๆตอนนั้น
ก็นึกไม่ออกว่าควรจะพูดคำพวกนี้ เพราะว่าแค่นึกว่าจะพูดสื่อออกมาเป็นเรื่องอะไรยังคิดไม่ออกจะออกเลย แหะๆ

- การพูดของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นเล่าเรื่องได้ละเอียดมากๆๆๆ แตกต่างจากของตนเอง อย่างเช่น
ตอนที่เล่าว่าไปเจอรูปเข้า ก็เล่าแค่ไปเจอรูป หรือ ตอนที่คนผู้หญิงรู้ว่าแฟนตัวเองเป็นคนหัวล้าน
ส่วนตัวแล้วได้เล่าแค่ว่าคนผู้ชายเป็นคนที่ไม่มีผม แค่เท่านั้น
แต่อาจารย์ชาวญี่ปุ่นเล่าว่าคนผู้ชายทำท่าทางยังไงตอนที่ให้แฟนรู้ด้วย
นอกจากนี้ ยังเล่าด้วยว่าศีรษะของผู้ชายมีลักษณะยังไง ในประโยค 彼の頭も、つるつるぴかぴかだったの。
ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ดีกว่าที่จะพูดไปเฉยๆ ว่าไม่มีผม

- ได้เรียนรู้คำที่ใช้ลงท้ายประโยคที่เป็นภาษาพูด เช่น การใช้ の หรือ のね หรือ のよ
หรือไม่ก็ けど ก็ได้ ความรู้นี้เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะปกติชอบลงท้ายด้วย だ
ไม่ค่อยชินกับการใช้ภาษาพูดเท่าไหร่ ต้องฝึกให้มากกว่านี้

- สังเกตจากการพูดของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นจะไม่บอกตรงๆว่าคนผู้ชายหัวล้าน (はげ) แต่จะเลี่ยงไปใช้คำอื่นๆแทน
คือ 彼、自分の髪の毛に手を持っていって、つるって、髪の毛を取ったのよ。
เท่านี้ก็รู้ได้แล้วว่าหัวล้าน ไม่ต้องพูดตรงๆ


ปล. มีข้อสงสัยเล็กน้อยและสงสัยมานาน คราวนี้มาเจอในบทพูดของอาจารย์อิไว
คือคำลงท้าย ~さ ได้ยินโฮส ทั้งโฮสพ่อโฮสแม่ (โดยเฉพาะโฮสพ่อ) พูดบ่อยมาก
อย่างเวลาเรียกชื่อ เค้าก็จะต่อท้ายชื่อเราด้วย さ ด้วย งงๆ แหะๆ


พอได้ทำ タスク นี้แล้ว ก็รู้สึกว่าทั้งการพูดให้ถูก ให้ลื่นไหล พูดให้เรื่องน่าติดตามมันสำคัญมาก
,,,อยากจะพูดได้ลื่นไหลกับเค้าบ้างจัง !~

25521122

タスク1 相手は何を知っているか??

タスク1 เป็นการฝึกเขียนอีเมล์ถึงคนญี่ปุ่น เป็นอะไรที่มีประโยชน์มากๆ เลย ^^

ได้ทำ タスク เขียนเมล์ 3 ครั้ง ครั้งแรกที่เขียนตามโจทย์ที่อาจารย์ให้มายังรู้สึกงงๆ กะโจทย์อยู่
เวลาที่เขียนก็ประมาณ 15 นาที รู้สึกเขียนได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก
ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยมีแบบฝึกหัดการเขียนอีเมล์หรือจดหมายเท่าไหร่นัก
เลยไม่รู้ว่าวิธีการเขียนที่ถูกต้องเป็นอย่างไรบ้าง
การเขียนครั้งแรกเลยเขียนไปอย่างไม่ค่อยมีรายละเอียดชัดเจน ไวยากรณ์ก็ไม่ค่อยถูก
นอกจากนี้ ก็ยังไม่รู้ว่าคนที่เราจะเขียนไปถึงนี้ เราต้องให้ความสุภาพกับเขามากเพียงใด
(โดยปกติ เป็นคนที่ใช้คำยกย่อง คำสุภาพมากๆ ไม่ค่อยเป็นอยู่แล้วด้วย - -")

การเขียนครั้งที่สอง ได้ใส่รายละเอียดเข้าไปในเมล์มากขึ้น
ก่อนที่จะเขียนครั้งที่สองนี้ได้มีการแลกกันอ่านเมล์ของเพื่อนด้วย
ทำให้ได้รู้ว่าสิ่งไหนที่เป็นข้อบกพร่องของเราและของเพื่อน
สิ่งไหนที่เราควรจะเขียนลงไปในอีเมล์ด้วย แต่ไม่ได้เขียนลงไป
เช่น ในส่วนที่ต้องการขอรายละเอียดเพิ่มเติมนั้นไม่ได้เขียนระบุลงไปว่าต้องการรายละเอียดอะไรบ้าง
เขียนไปเพียงแค่ว่า 詳しい情報を教えていただけたいと思います。
ซึ่งผู้รับอาจจะไม่รู้ว่าเราต้องการรายละเอียดอะไรบ้าง
ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อเราที่อาจจะไม่ได้รับข้อมูลครบตามที่ต้องการ
ครั้งที่สองนี้เลยเขียนรายละเอียดที่เราต้องการรู้ไปเป็นข้อๆ
(ได้รับแรงบันดาลใจจากพี่อานนท์ ^^ ที่เขียนเป็นข้อๆ อ่านง่าย เข้าใจง่ายมากๆ)
เพราะว่าทำให้เกิดความชัดเจน ผู้ตอบจะได้ตอบคำถามที่เราอยากรู้ได้ครบถ้วน
นอกจากนี้ จากที่อาจารย์สอนในห้องเรียน ก็ยังได้รู้วิธีเขียนเมล์มากขึ้น
เช่น จะไม่ใช้ へ ตามหลังชื่อคนที่เราเขียนไปถึง และไม่ใช้ さん ต่อท้ายชื่อเขา แต่จะใช้ 先生 หรือ 様 แทน
แล้วก็ได้รู้คำลงท้ายจดหมายที่ว่า お返事は急ぎませんが、เป็นคำที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลย
ปกติรู้จักแต่คำว่า お返事を待っております 。
รอบสองนี้ ลืมใส่ชื่อตัวเองท้ายอีเมล์ซะอย่างงั้น - -"

การเขียนครั้งที่สาม จากครั้งที่สองอาจารย์กนกวรรณแก้ไวยากรณ์ที่ผิดค่อนข้างเยอะ
เช่น รูปประโยคคำถาม เนื่องจากเป็นคนที่ควรยกย่อง จึงควรใช้รูป ~でしょうか。แทน ~ますか。
แล้วก็ใช้คำสันธานผิดความหมายอีกแล้ว
(รู้สึกมานานว่าการใช้คำสันธานเป็นปัญหาสำหรับตนเองมาก อยากใช้ให้ถูกต้องซักที - -")
อีกทั้ง ยังต้องแก้ไวยากรณ์ที่เกี่ยวกับ Tense&Aspect ด้วย เช่น ในประโยค
この間、修二様のホームページを見て、個人レッスンを受けたいと思っています。
ประโยคนี้ควรเปลี่ยน と思っています。เป็น と思いました。
เพราะว่ามีคำว่า ~見て、แสดงว่าพอเราเห็นก็อยากเรียนขึ้นมา ถึงแม้ว่าตอนนี้ยังคงอยากเรียนอยู่ก็ตาม
การเขียนครั้งที่สามนี้จึงระมัดระวังเรื่องไวยากรณ์มากเป็นพิเศษ
แล้วก็ยังมีเรื่องการถามเกี่ยวกับเรื่องเงิน (ค่าเรียน) ที่ไม่ควรใช้คำที่มีคำว่าเงินโดยตรง
เพราะเป็นการถามที่ตรงเกินไป คนญี่ปุ่นมักจะไม่ใช้กัน
เลยเปลี่ยนเป็นใช้รูปประโยค 一時間はどのぐらいかかるでしょうか。แทน
ครั้งที่สามนี้ไม่ลืมลงชื่อตัวเองท้ายอีเมล์แล้ว ^^
การเขียนครั้งที่สามรู้สึกพอใจมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้ดีมาก ยังมีอะไรที่ต้องแก้ไขและพัฒนาอีก
แล้วก็การเขียนครั้งนี้ยังทำให้เห็นไวยากรณ์ที่เราใช้ผิดบ่อยอีกด้วย


นอกจากสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเขียนของตนเองแล้ว ยังได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากการเขียนของเพื่อนและจากตัวอย่างในชีทด้วย เช่น
- ควรบอกรายละเอียดให้ชัดเจน เช่น เรียนมา 5 ปี นั้น จริงๆแล้วเรียนมาถึงระดับไหนแล้ว เป็นต้น
- การใช้คำว่า 経験になる และ 役に立つ เป็นคำที่กำกวม ไม่ได้อธิบายรายละเอียดที่ชัดเจน
จึงไม่ควรนำมาใช้ในการเขียน
- การบอกว่าเราเป็นแฟนคลับและติดตามผลงานของผู้เขียนก็เป็นสิ่งที่น่าจะนำมาเขียนด้วย
- ได้เรียนรู้สำนวนใหม่ๆ เช่น お手数ですが、ใช้เพื่อเกริ่นว่าต้องการจะรบกวนอะไรบางอย่าง


การเขียนอีเมล์ครั้งนี้ทำให้รู้ว่าการเขียนอีเมล์นั้นต้องคำนึงถึงอะไรหลายๆ อย่างมากเลย
โดยเฉพาะอย่างยื่ง สิ่งที่สำคัญ คือ เราต้องคำนึงถึงคนที่อ่านเมล์เราด้วย
ต้องคำนึงว่าผู้อ่านเป็นใคร และเขาจะเข้าใจความหมายที่เราต้องการจะสื่อสารหรือไม่
เพื่อให้จุดประสงค์ที่เราเขียนอีเมล์นั้นบรรลุตามที่ต้องการ :)

25521110

์My new blog >w<

วันนี้อาจารย์กนกวรรณให้สร้างบล็อก กลับบ้านมาก็มานั่งทำ
ห่างหายจากการเขียนบล็อกไปนาน
เคยเขียนแต่เรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน้
คราวนี้ต้องมาเขียนเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น จะเป็นยังไงนะนี่? รอดูต่อไป ฮ่าๆๆ
Yeah !!! My new blog
^_____^