25530301

สืบจากบล็อก (คนญี่ปุ่น)

มาเขียนบล็อกอีกแล้ว ช่วงนี้ไฟติด ฮ่าๆๆ
เรื่องมีอยู่ว่าไปอ่านเจอบล็อกคนญี่ปุ่นมา
เจอการใช้คำช่วย และ กับกริยาตัวเดียวกันอีกแล้ว
แต่คราวนี้ความหมายน่าจะไม่ต่างกันเหมือนที่เขียนไว้ในบล็อกที่แล้วนะ (คิดว่า)
บล็อกของเค้ามีอยู่ว่า...


通勤電車で座る会社員のブログ

tukinjikan.exblog.jp

40分くらい電車に座って通勤する、会社員のブログです

少し早く通勤するようにしました

先日立って通勤し始めたと書きましたが
最近いつもより20分早く通勤しています。


うまく乗りついで、途中駅では座って通勤できる感じです。
そこで思ったのが
「会社に20分早くつくだけで、なんて有意義に時間をすごせるんだろう」ということです。
始発からの電車で座って行くと、
始業時間ぎりぎりにつくことも多かったですが、
20分早くつくことによって、心の余裕ができる。
いいですね。


しかし、家であと20分寝ていたいというのも本音です()


บล็อกนี้สนุกดีนะ เค้าเขียนเรื่องการเดินทางไปทำงานโดยรถไฟ
ในความไม่ค่อยมีอะไร ก็ดูมีอะไรดีๆ เป็นอีกแง่มุมนึงของการเขียนบล็อก


สังเกตได้ว่า ตรงหัวบล็อก เค้าจะใช้คำช่วย กับกริยา 座る (จริงๆเคยเจอในชีทเรียนครั้งนึงด้วยที่มีการใช้คำช่วย กับกริยา座る) พอลงมาดูตรงย่อหน้าที่ 2 กลายเป็นใช้คำช่วย

ทำให้รู้ว่ากริยา 座る ก็ใช้กับ ได้เหมือนกัน ปกติเวลาจะบอกว่านั่งที่ไหนจะใช้คำช่วยตลอดเลย ไม่เคยใช้

25530228

กริยาบางตัวทำไมบางครั้งใช้ に บางครั้งใช้ で ??

เกิดความสงสัยว่าทำไมกริยาบางตัว บางทีเจอว่าใช้กับ に บางทีก็ใช้กับ で
เลยลองไปหาข้อมูลดู เค้าอธิบายได้ดีทีเดียว

ในกรณีที่ใช้คำช่วย に และ で เพื่อแสดงสถานที่
จริงๆแล้วมีกริยาบางตัวที่สามารถใช้ได้กับทั้งคำช่วย に และ で
แล้วแต่ความหมายที่เราต้องการจะสื่อ เช่น ลองดูประโยคสองประโยคนี้

- 玄関花を植える
- 玄関花を植える

อันนี้ใช้ได้ทั้ง に และ で แต่ว่าความหมายจะแตกต่างกันเลย คือ

ประโยคแรก 玄関花を植える
จะมีความหมายแฝงว่า หลังจากปลูกแล้ว ดอกไม้ยังคงอยู่ที่บริเวณหน้าประตูบ้าน

ประโยคที่สอง 玄関花を植える
เน้นการกระทำว่า "ปลูก" ที่บริเวณหน้าประตูบ้าน
ซึ่งไม่จำเป็นว่าหลังจากปลูกเสร็จแล้วต้นไม่จะต้องอยู่ที่หน้าประตูบ้าน

จะแสดงสถานที่เดี๋ยวกัน แต่พอใช้คำช่วย に หรือ で
ความหมายก็ต่างกันเลยนะเนี่ย

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เกี่ยวกับการใช้ คำช่วย に และ で กับกริยาตัวเดียวกันแต่เน้นความหมายคนละอย่าง เช่น

- 河原石を投げる。
เน้นว่าจุดที่ปาหินไปคือ 河原 ซึ่งหินต้องไปตกอยู่ตรงที่นั้นแน่ๆ
- 河原石を投げる。
เน้นสถานที่ที่เกิดการกระทำ "ปา" คือที่ 河原
แต่ว่าบอกไม่ได้แน่นอนว่าหินจะไปตกที่ใด

- 田舎暮らす。
แสดงถึงสถานที่ที่ใช้ชีวิตอยู่คือ 田舎
- 田舎暮らす。
แสดงถึงการดำเนิน "การกระทำ" ที่เป็นการใช้ชีวิตเกิดขึ้นที่ 田舎

แล้วก็มีกริยาบางตัวที่สามารถใช้ได้ทั้งกับคำช่วย に และ で อีก เช่น
「生まれる」「育つ」「消える」


อ้างอิง : http://qizi.boo.jp/_nihon/_nihongo_2.htm
http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q1416002324

25530226

คำช่วย に で กับกริยา 始まる 終わる

ปกติกับกริยา 始まる 終わる จะใช้คำช่วย に ตลอด
เพราะ่ว่าเป็นการแสดงจุดของเวลา เช่น 4時に始まる 4時に終わる
ไปอ่านเจอในเว็บของคนญี่ปุ่น มีคนมาตั้งคำถาม
เกี่ยวกับการใช้คำช่วย で กับกริยา 始まる 終わる
ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าใช้ で กับ 終わる ได้ด้วย อะไรเนี่ย????
มาดูกันว่าคนที่ตั้งคำถามเค้าสงสัยว่าอะไร

เค้าอธิบายถึงความเข้าใจของเค้าก่อนว่า
คำช่วย に สามารถใช้ได้กับทั้งกริยา 始まる 終わる
คำช่วย で สามารถใช้ได้กับ 終わる แต่ใช้กับ 始まる ไม่ได้
เค้าก็สงสัยว่าทำไมใช้ไม่ได้กันนะ??

แล้วก็มีคนมาตอบ แล้วก็ยกตัวอย่างมา คำตอบก็คือว่า ดังนี้
「4時終わる。」『に』ในประโยคนี้แสดง 'จุดของเวลาที่จบ'
「4時終わる。」『で』ในประโยคนี้แสดง 'ขีดจำกัดของสิ่งที่ดำเนินมาต่อเนื่อง'
「4時始まる。」『に』ในประโยคนี้แสดง 'จุดของเวลาที่เริ่ม'
「4時始まる。」 『始まる』ใช้กับ『で』ไม่ได้
เนื่องจากคำช่วย で ไม่สามารถแสดงขีดจำกัดของสิ่งที่ดำเนินมาต่อเนื่อง

เพิ่งรู้จริงๆนะว่า で ใช้กับ 終わる ได้ ฮ่าๆๆ


อ้างอิง : http://nhg.pro.tok2.com/qa/joshi-17.htm

จุดที่ตนเองมักสับสนในการใช้คำช่วย に และ で

คำช่วย และ สามารถใช้ได้ในหลายๆกรณีแตกต่างกันไป

จุดที่เหมือนกันคือสามารถใช้แปลว่า ที่

ในการแสดงตำแหน่งของสถานที่ได้เช่นเดียวกัน
ซึ่งจุดที่ผิดบ่อยก็คือจุดนี้นี่เอง คือ จะสับสนว่า ที่ ในกรณีใดจะใช้
หรือ กรณีใดจะใช้


คำช่วย จะใช้แสดงตำแหน่งที่ตั้งหรือวางไว้หลังสถานที่ที่ไม่ได้เป็นกริยาเกี่ยวกับการกระทำ (ไม่มี action)

ใช้ชี้สถานที่ที่มีผลของการกระทำปรากฏอยู่

แต่คำช่วย จะใช้แสดงสถานที่ที่มี การกระทํานั้นๆว่าเกิดขึ้นที่ไหน

บางทีเหมือนจะรู้ว่า อันนี้ไม่ได้เป็น action อันนี้เป็น action

แต่ก็ยังคงงงใช้คำช่วยสองตัวนี้สับสนกันอยู่ดี - -

25530203

「~で止める」「~に止める」

学校の前車を止めることに注意

毎朝、トリアムウドムスクサー校とサーテイツトプラトウムワン校の前
車が何十台も止まっています。それは両親が子供を学校まで送っているからなのです。
両親は子供を送るためには、学校の前車を止めるのが便利だ思っているかもしれません。

อันนี้คือ เรียงความที่เคยเขียนไปเมื่อเทอมที่แล้ว
และเป็นแรงบันดาลใจในการทำ Portfolio หัวข้อนี้ด้วยล่ะ

ไปอ่านเจอในเว็บสอนภาษาญี่ปุ่นของ ดร.ปรียา
มีคนตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับ 「~で止める」และ「~に止める」
ว่าทำไมบางครั้งใช้ で บางครั้งใช้ に
ตัวอย่างประโยคเช่น

1. あの花屋の前で車を止めてください。และ
2. ここに車を止めてはいけません。

กริยาตัวเดียวกันทำไมถึงใช้ทั้ง で และ に ???

1. あの花屋の前で車を止めてください。
ในข้อนี้ ความหมายของประโยคเป็นลักษณะการจอดหรือหยุดรถแบบชั่วคราว
เช่น การบอกให้รถแท็กซี่จอด(ชั่วคราว) เช่น เพื่อขึ้นหรือลงรถ
จึงใช้คำช่วย で เพราะเกิดการกระทำคือกริยาจอดหรือหยุดรถ
ณ สถานที่หนึ่งๆ แล้วไปต่อ
เราจะเห็นการที่คนขับแสดงการขับรถเพื่อจะไปจอด
คือมีการแสดงออก และมีอาการท่าทางที่เห็นได้ จึงใช้
あの花屋の前車を止めてください。

2. ここに車を止めてはいけません。
ในกรณีนี้止める หมายถึงจอดรถทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน
เช่น การจอดรถทิ้งไว้ริมถนนหรือในลานจอดรถ
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคำกริยา เช่น 置く(วาง), 座る (นั่ง) จึงใช้คำช่วย
โดยผู้พูดต้องการพูดบ่งที่จุด หรือตำแหน่ง กับอีกฝ่ายที่เอารถมาจอดทิ้งไว้
ว่า ตรงนี้ หรือ สถานที่ตรงจุดนี้ ห้ามจอด

เพราะฉะนั้น ในประโยคที่เคยเขีียนผิดไปว่า

学校の前車を止めることに注意 กับ
学校の前車を止めるのが便利だ思っているかもしれません。

ก็จะต้องแก้เป็น

学校の前車を止めることに注意 และ

学校の前車を止めるのが便利だ思っているかもしれません。


เพราะว่าเป็นการระบุตำแหน่งว่า จอดรถที่สถานที่นี้ที่หน้าโรงเรียนนี้


อ้างอิง : http://japaneseisfun.com/bbs/viewthread.php?tid=398&extra=page%3D1

25530124

タスク6 志望理由書

หลังจากแก้งาน 志望理由書 ครั้งที่3 เัสร็จแล้วก็เลยมาอัพบล็อกซะหน่อย

หลังจากได้ทำ Task นี้ ได้อะไรเยอะมากมายจริงๆ
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าชอบวิธีการสอนแบบนี้ของอาจารย์มาก
คือให้ลองเขียนดูเองก่อน แล้วก็ค่อยๆปรับ ค่อยๆแก้ ด้วยตัวเองทีละจุด
เรียนแบบนี้ทำให้จำขึ้นใจดี :)
อ๋อ แล้วก็ได้ดูตัวอย่างของคนอื่นๆด้วย
ทำให้ได้รู้ว่าส่วนที่ดีของเขาที่เราควรจะเอามาใช้คืออะไร
หรือส่วนที่ไม่ดีีของเขาคืออะไร สามารถเอามาปรับใช้ได้

จากที่ได้ลองเขียนเองและดูตัวอย่างมากมาย
ก็ได้เคล็ดลับการเขียน 志望理由書 เยอะมาก เช่น

♥ ตอนที่แนะนำตัวเองใน 段落 แรก ไม่ต้องอธิบายอะไรยืดยาว
ควรเขียนสิ่งที่ตรงประเด็นและสำคัญ เช่น
ได้เรียนอะไรเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นมาบ้าง หรือ ผ่านสอบวัดระดับอะไรมาแล้ว

♥ ใน 段落 2 ต้องอธิบายให้ชัดเจนและละเอียดว่าเราอยากเรียนอะไร
แล้วก็ไม่ควรใช้สำนวนหรือคำที่เป็นการประเมิน
หรือคำที่ไม่ได้แสดงการอธิบายที่เพียงพอ

♥ ใน 段落 3 ไม่ควรเขียนความฝันระดับประเทศหรืออะไรที่ยิ่งใหญ่เกินไป
หรือเขียนอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนมา

♥ ต้องใช้คำและสำนวนที่เป็น 書き言葉 !!

นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้รูปประโยคต่างๆที่ควรใช้ด้วย
หลังจากที่ได้เขียนถึงครั้งที่สามแล้วก็ู้สึกว่าพัฒนาขึ้น
ครั้งที่สามนี่จะเขียนได้ละเอียดมากที่สุด
ทั้งตรงที่อยากไปเรียนเกี่ยวกับอะไร แล้วก็ตรงแนะนำตัว
(ตอนเขียนครั้งแรกลืมเขียนชื่อกับแนะนำตัวด้วย ฮ่าๆๆ)
แต่ไม่รู้ว่าจะผิดอะไรบ้าง เหอๆ ต้องรออาจารย์ตรวจ
ตอนที่จะต้องส่ง Study plan ให้ Soka University
Task นี้คงมีประโยชน์มากมายเลยทีเดียวเชียว :)

สุดท้าย ชอบประโยคนี้มาก อธิบายความเป็น 志望理由書 ได้ดี
志望理由書 とは、「勉強させてください」という気持ちを伝えるもの

25530115

ขอบคุณ หรือ ขอโทษ?

เรื่องที่จะอัพวันนี้จริงๆไม่ค่อยมีความเกี่ยวข้องอะไรเท่าไหร่ ฮ่าๆๆ
คือว่าเมื่อวันก่อน พยายามรีบวิ่งให้ทันลิฟท์ที่คณะ
แล้วก็ทันจริงๆด้วย ฮ่าๆ พอเข้าไปก็ูพูดว่า "ขอโทษค่ะ"
แล้วก็คิดขึ้นมาว่า เอ๊ะ พูดเหมือนคนญี่ปุ่นเลยแฮะ
เพราะในสถานะการณ์นี้คนไทยส่วนใหญ่มักจะพูดว่า "ขอบคุณค่ะ/ครับ"
อย่างคนญี่ปุ่น คนที่เข้าลิฟท์มาทีหลังก็มักจะพูดว่า "すみません"
ตอนที่ไปญี่ปุ่นนี่ไม่คุ้นเลยที่ต้องพูด すみません
แต่อยู่ไปๆก็ชินเอง แล้วพอกลับมาไทย
เวลาขึ้นลิฟท์ก็มักจะพูด "ขอบคุณค่ะ" เหมือนเดิม
อันนี้คิดได้สองแง่เนอะ
"ขอบคุณ" ที่เค้ารอเรา อุตส่าห์กดลิฟท์ให้ด้วย
"ขอโทษ" ที่เราทำให้เค้าลำบาก ต้องมารอเรา ทำให้ลิฟท์ไปช้า
แค่นี้ีคนไทยกับญี่ปุ่นก็คิดต่างกันแล้ว